กล่องข้อความ: 		7-50100-001-117  		  ชื่อพื้นเมือง	:  นางแย้ม, ปิ้งซ้อน  ปิ้งชะมด ปิ้งช้อน ปิ้งสมุทร ส้วนใหญ่  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb. (C. fragrans (Vent.) Willd., Volkameria fragrans Vent.)  ชื่อวงศ์	:  LAMIACEAE  ชื่อสามัญ	:  Indian Privet, Indian Wild Pepper  ประโยชน์	:  รากและใบปรุงเป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ ใบเป็นยาขับเสมหะ ผลแก้หืดหอบ

บริเวณที่พบ : ทางเข้าแปลงเกษตร
ลักษณะพิเศษของพืช : ดอกมีกลิ่นหอม
ลักษณะทั่วไป :  ไม้พุ่มขนาดเล็ก 
ลำต้น : ตั้งตรงมีขนตามลำต้นและก้านใบ  มักแตกกอมากกิ่งก้านสี่เหลี่ยม
 ใบ : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่กว้าง กว้าง 8-11 เซนติเมตร ยาว 12-16 เซนติเมตร ปลายใบแหลม  โคนใบรูปลิ่มหรือรูปหัวใจ
ขอบหยักฟันซี่ห่าง แผ่นใบหนา ผิวใบด้านบนสีเขียวหม่น ผิวใบด้านล่างสีเขียวอ่อน มีขนละเอียดทั้งสองด้าน
ดอก : สีขาว กลีบนอกสีชมพูอมม่วง มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว6-11 เซนติเมตร
ช่อละ 3-5 ดอก  กลีบเลี้ยงสีม่วงแดง  โคนเชื่อมติดกัน   ปลายแยกเป็น 5 แฉก   มีกลีบดอกจำนวนมากซ้อนกันแน่น
ลักษณะคล้ายดอกมะลิซ้อน   ทยอยบานและบานหลายวัน  ช่อดอกบานเต็มที่กว้าง6-10 เซนติเมตร
ผล : ผลสด ทรงกลมถึงรูปรี เมล็ดเดียว เเข็ง แต่ไม่ค่อยติดผล
การกระจายพันธุ์ : ถิ่นกำเนิดเอเชียตะวันออก ชอบขึ้นในที่มีความชุ่มชื้น แดดรำไร พบขึ้นอยู่ตามป่าดิบชื้น และป่าเบญจพรรณทั่วไป
ประโยชน : ใบ นำมาตำพอกแก้โรคผิวหนังและผื่นคัน ทั้งต้น แก้พิษเพื่อฝีกาฬภายใน
ราก นำมาปรุงเป็นยาแก้ปวดเอวและปวดข้อ ริดสีดวงทวาร แก้เหน็บชา ขับระดูขาว แก้หลอดลมอักเสบและกระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง
ราก ขับปัสสาวะ แก้โรคลำไส้ แก้ไตพิการ ยาพื้นบ้านใช้ราก ต้มน้ำดื่มแก้ปวดท้อง รากฝนกับน้ำปูนใส ทารักษาเริม งูสวัด

ลักษณะวิสัย

กลับหน้าหลัก
ใบ
กิ่งดอก
ดอก

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้    นางแย้ม , ปิงซ้อน     รหัสพรรณไม้   7-50100-001-117